27 ธันวาคม 2565

Eco-Design เทรนด์การออกแบบผลิตภัณฑ์แบบใหม่ที่ไม่ใช่แค่นำกระแส แต่ยังใส่ใจความยั่งยืนอีกด้วย

เมื่อเราพูดถึงเทรนด์ใหม่ๆ ในวงการ Product Design หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เรามักจะนึกถึงดีไซน์ที่เน้นความล้ำสมัย มีความหวือหวา และสะท้อน ความนิยมในช่วงเวลานั้นๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งนักออกแบบผลิตภัณฑ์ยุคใหม่กลับเริ่มมองหาแนวทางในการออกแบบที่มีความยั่งยืน อยู่ได้นานข้ามกาลเวลาไม่จำเป็นต้องล้อไปตามกระแสเพียงชั่วข้ามคืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

นั่นจึงเป็นที่มาของแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ ‘Eco-design’ ที่เน้นความยั่งยืนตั้งแต่ขั้นตอนแรกนั่นคือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ตลอดวงจรชีวิตของมัน

Eco-design มาจากคำว่า ‘Economic & Ecological Design’ คือกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบและเริ่มต้นกระบวนการผลิตสินค้า โดยพิจารณาจากวงจรชีวิตของสินค้าเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกำจัดกากเหลือใช้ หรือการนำสินค้าที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้วหรือชิ้นส่วนบางอย่างในสินค้านั้นกลับมาใช้ใหม่

ซึ่งหลักการพื้นฐานของการทำ Eco Design คือ การนำหลัก ‘4R’ ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ 

R - Reduce หรือ การลด หมายถึง การออกแบบโดยคำนึงถึงการลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวงจรของชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่การเลือกใช้ ทรัพยากร ในการออกแบบ การผลิต จนถึงการขนส่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

R - Reuse หรือ การใช้ซ้ำ หมายถึง การนำเศษวัสดุมาออกแบบและผลิตเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าชิ้นใหม่ หรือการออกแบบโดยคำนึงถึงการนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ โดยอาจใช้การออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยใหม่จากผลิตภัณฑ์เดิม

R - Recycle หรือ การนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การออกแบบโดยเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาผ่านกระบวนการ เพื่อกลับไปเป็นวัสดุตั้งต้นได้มาใช้ในการผลิต เช่น พลาสติกที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการกลับไปเป็นเม็ดพลาสติกได้ หรือกระดาษใช้แล้วที่สามารถนำมาย่อยและผลิตเป็นกระดาษอีกครั้งได้

R - Repair หรือ การซ่อมบำรุง หมายถึง การออกแบบให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง เมื่อการซ่อมบำรุงสามารถทำได้ง่าย จะทำาให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น เช่นสามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้ ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งผลิตภัณฑ์

นอกจาก 4R ข้างต้นที่เป็นหลักการพื้นฐานของการทำ Eco Design แล้ว อีกหนึ่งกระบวนการที่น่าสนใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ยังมีการ Up-style & Re-design ด้วยการ Upcycling อีกด้วย 

Upcycle หรือ Upcycling หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นและกลับมาใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้การออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น 

โดยหนึ่งในแบรนด์ที่อยู่ในเทรนด์การออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน ที่เรารู้จักกันดีก็คือ UPTOYOU ที่เลือกใช้การ Up-style & Re-design ด้วยการ Upcycling พลาสติกมาแปลงเป็นเส้นใย ใส่ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ และถักทอออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับการใส่ความสร้างสรรค์ในการออกแบบนั้น UPTOYOU  ได้ดึงนักสร้างสรรค์ไทยมาร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ถึง 2 คอลเลกชัน เพื่อยกระดับสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมให้มีดีไซน์ไม่จำเจ ได้แก่ คุณ บี-บดินทร์ อภิมาน จาก Greyhound Original ในคอลเลกชัน ‘UPTOYOU X GREYHOUND - Design Our Planet Collection’ (ดูสินค้าได้ที่: https://bit.ly/3iX2a5C) และ คุณ ปอม-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง หรือ Pomme Chan กับคอลเลกชัน ‘UPTOYOU X POMME CHAN - Cool the Earth Collection’ (ดูสินค้าได้ที่: https://bit.ly/3iX2a5C)

สำหรับคนไหนที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook Uptoyou_upcycling หรือทาง Facebook Messager คลิก
.
อ้างอิง: 
KMUTT Library, Eco-Design การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ, http://bit.ly/3VmT00c